วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดขอนแก่น
ตราประจำจังหวัดขอนแก่น
ตราประจำจังหวัด

เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดขอนแก่นด้านหน้า เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดขอนแก่นด้านหลัง
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด

พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ขอนแก่น
ชื่ออักษรโรมัน Khon Kaen
ผู้ว่าราชการ นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ISO 3166-2 TH-40
สีประจำกลุ่มจังหวัด ███ สีเหลือง
ต้นไม้ประจำจังหวัด ชัยพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัด ราชพฤกษ์ (คูน)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 10,885.991 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 15)
ประชากร 1,767,601 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 4)
ความหนาแน่น 161.88 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 21)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ (+66) 0 4323 6882, 0 4333 0297
เว็บไซต์ จังหวัดขอนแก่น
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดขอนแก่น

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รองจากจังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานีตามลำดับ ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าไปสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไปเข้าภาคเหนือที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทั้งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การตั้งถิ่นฐาน

แม้ขอนแก่นจะเป็นบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อราวสองร้อยกว่าปีมานี้ก็ตาม แต่ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยมีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอาศัยก่อนแล้ว เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง พบว่ามีเครี่องปั้นดินเผาที่มีอายุใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง คือมีอายุราว 5,500 ปีมาแล้ว ต่อมาชุมชนเหล่านี้ก็ได้วิวัฒนาการมาสู่ชุมชนแห่งรัฐ และกลายเป็นบ้านเมืองขึ้นในสมัยทวารวดี ก่อนที่ขอมจะมามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้ เช่น พบแหล่งโบราณคดีที่วัดศรีเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งปรากฏจารึกศรีเมืองแอมที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้หรือที่ปรากฏเป็นปรางค์กู่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
ประวัติศาสตร์การสร้างเมืองขอนแก่นได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย
เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเขม (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรีในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย ในห้องสมุดของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)
ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง
เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย พระยาเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพี้ย ตำบลเมืองเพี้ย อำเภอบ้านไผ่)
บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า
“ลุจุลศักราช 1159 ปีมเสง นพศก (พ.ศ. 2340) ฝ่ายเพี้ยเมืองแพน บ้านชีโล่น เมืองสุวรรณภูมิ เห็นว่าเมืองแสนได้เป็นเจ้าเมืองชนบท ก็อยากจะได้เป็นบ้าง จึงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้อยู่ในบังคับสามร้อยคนเศษ จึงสมัครขึ้นอยู่ในเจ้าพระยานครราชสีมา แล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองแพนเป็นที่พระยานครศรีบริรักษ์ เจ้าเมือง ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา...”
เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า
“...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...” ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง

[แก้] การย้ายถิ่นฐานเมืองขอนแก่น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2339 ได้มีการย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหล็ก (ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน) โดยได้ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร คือจะขอส่งส่วยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง ไม่ผ่านเมืองสุวรรณภูมิ เพราะให้เหตุผลว่า บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ยอยู่ใกล้กับแขวงเมืองนครราชสีมา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะอยู่ใกล้กับเมืองชนบทอันเป็นแขวงเมืองนครราชสีมาอยู่ขณะนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เข้าใจว่าเจ้าเมืองในขณะนั้นอยากจะแยกตัวออกเป็นอิสระ คืออยากจะแยกออกมาเป็นเมืองใหญ่อีกต่างหาก การย้ายเมืองครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบัง (บุตรเจ้าแก้วบุฮม) เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นต่อมา
ในปี พ.ศ. 2352 ได้ย้ายเมืองจากบ้านหนองเหล็กไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนพันชาด (เขตตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) พระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ได้ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (ท้าวคำยวง) น้องชายของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ซึ่งมีความดีความชอบจากการไปราชการสงคราม ขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เป็นที่ “พระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร” เจ้าเมืองขอนแก่น
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นก็ได้ย้ายจากบ้านดอนพันชาดไปตั้งอยู่ที่ริมฝั่งบึงพระลับโนนทอง คือบ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่า "บ้านโนนทอง" ต่อมาเมื่อย้ายเมืองไปอยู่ที่นั่น จึงเรียกว่าบ้านเมืองเก่า สาเหตุที่ย้ายเมืองนั้นเล่ากันว่า เกิดการแย่งราษฎรไพร่พลขึ้น และเกิดแผ่นดินแยกที่ถนนกลางเมือง มีโรคภัยไข้เจ็บผู้คนล้มป่วยกันมาก จึงถือว่าที่ตรงนั้นไม่เป็นมงคลต่อการอยู่อาศัย จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่ง จากบึงพระลับโนนทองไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกที่บ้านโนนทัน (อยู่ในตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่นปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2398 พอดีพระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินธิวงษ์ บุตรคนเล็กของพระยานครศรีบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เพราะมีวิชาความรู้ดีกว่าพี่ชายคนอื่น ๆ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในราชทินนามเดิมของบิดาสืบมา
ภาพในเทศบาลนครขอนแก่น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ท้าวอินธิวงษ์เจ้าเมืองขอนแก่นได้ถึงแก่อนิจกรรมลงอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบุ่ง (พี่ชายท้าวอินธิวงษ์) ผู้เป็นอุปฮาดแต่เดิมให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นสืบแทนน้องชายต่อมาอีก 3 ปี เพราะชราภาพมากแล้ว
ในปี พ.ศ. 2410 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอุ (ราชบุตร) ซึ่งเป็นหลานท้าวอินธิวงษ์ (พระยานครศรีบริรักษ์) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านโนนทันกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าอีก (บ้านโนนทองเดิม) พอถึงปี พ.ศ. 2413 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม (บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น) แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวอุ (ราชบุตร) เจ้าเมืองขอนแก่นในขณะนั้น เป็นพระนครศรีบริรักษ์ และให้ท้าวหนูหล้า บุตรคนเล็กของท้าวอินธิวงษ์ เป็นปลัดเมืองขอนแก่น (หรืออุปฮาด)
ในปี พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ให้เป็นหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงกับขึ้นกับเมืองลาวพวน ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนครศรีบริรักษ์ (อุ) ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2434 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง
ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2441 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้ง
ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณพาชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป
ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

[แก้] ที่มาของชื่อขอนแก่น

เหตุที่เมืองนี้มีนามว่า เมืองขอนแก่นนั้นได้มีตำนานแต่โบราณเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ก่อนที่เพี้ยเมืองแพนจะอพยพไพร่พลมาตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นนั้น ปรากฏว่าบ้านขาม หรือตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพองปัจจุบัน ซึ่งเป็นเขตแขวงร่วมการปกครองกับบ้านชีโล้น มีตอมะขามขนาดใหญ่ที่ตายไปหลายปีแล้ว กลับมีใบงอกงามเกิดขึ้นใหม่อีก และหากผู้ใดไปกระทำมิดีมิร้ายหรือดูถูกดูหมิ่น ไม่ให้ความเคารพยำเกรง ก็จะมีอันเป็นไปในทันทีทันใด เป็นที่น่าประหลาดและมหัศจรรย์ยิ่งนัก
ดังนั้น บรรดาชาวบ้านชาวเมืองในแถบถิ่นนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อเจดีย์ครอบตอมะขาม นั้นเอาไว้เสีย เพื่อให้เป็นที่สักการะของคนทั่วไป พร้อมกับได้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 บทเข้าไว้ในเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นด้วย ซึ่งเรียกว่า พระเจ้า 9 พระองค์ แต่เจดีย์ที่สร้างในครั้งแรกเป็นรูปปรางค์ หลังจากได้ทำการบูรณะใหม่เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมานี้ จึงได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเจดีย์ และมีนามว่า พระธาตุขามแก่น ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พระเจดีย์ขามแก่นถือว่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะมีงานพิธีบวงสรวง เคารพสักการะกันในวันเพ็ญเดือน 6 ทุกปี
ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์พระธาตุขามแก่นนั้น มีซากโบราณที่ปรักหักพังปรากฏอยู่ โดยอยู่ห่างจากเจดีย์ราว 15 เส้น หรืออยู่คนละฟากทุ่งของบ้านขาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณแถบนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองมาก่อน แต่ได้ร้างไปนาน ดังนั้น จึงได้ถือเอานิมิตนี้มาตั้งนามเมืองว่าขามแก่น แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นเมืองขอนแก่น จนกระทั่งทุกวันนี้

[แก้] อาณาเขตติดต่อ

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 26 อำเภอ 199 ตำบล 2139 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองขอนแก่น
  2. อำเภอบ้านฝาง
  3. อำเภอพระยืน
  4. อำเภอหนองเรือ
  5. อำเภอชุมแพ
  6. อำเภอสีชมพู
  7. อำเภอน้ำพอง
  8. อำเภออุบลรัตน์
  9. อำเภอกระนวน
  10. อำเภอบ้านไผ่
  11. อำเภอเปือยน้อย
  12. อำเภอพล
  13. อำเภอแวงใหญ่
  1. อำเภอแวงน้อย
  2. อำเภอหนองสองห้อง
  3. อำเภอภูเวียง
  4. อำเภอมัญจาคีรี
  5. อำเภอชนบท
  6. อำเภอเขาสวนกวาง
  7. อำเภอภูผาม่าน
  8. อำเภอซำสูง
  9. อำเภอโคกโพธิ์ไชย
  10. อำเภอหนองนาคำ
  11. อำเภอบ้านแฮด
  12. อำเภอโนนศิลา
  1. อำเภอเวียงเก่า
 แผนที่

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวในขอนแก่น

แหล่งท่องเที่ยวในขอนแก่นแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

[แก้] แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ภาพพระมหาธาตุแก่นนคร
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง: เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีและ หลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้นำหลักศิลาจารึกมาจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีตามแนวทาง พระพุทธศาสนาทำเป็นหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499
  • พระมหาธาตุแก่นนคร: ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวงพระอารามหลวง ถนนกลางเมือง เป็นศิลปะสมัยทวารวดีผสมผสานศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบชาวอีสานตากแห มี 9 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีการตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลัก และภาพเขียนอย่างงดงาม เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น และเป็นสถานที่ชมทัศนียภาพเมืองขอนแก่น
  • อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์: ตั้งอยู่ที่สวน เจ.ซี. ถนนรอบบึง พระนครศรีบริรักษ์หรือท้าวเพี้ยเมืองแพนเป็นขุนนางเชื้อพระวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ มีธิดาชื่อนางคำแว่นเป็นสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้พาสมัครพรรคพวกประมาณ 330 คน อพยพมาอยู่ที่บ้านบึงบอน ขึ้นตรงต่อพระยานครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" และยกฐานันดรศักดิ์ท้าวเพี้ยเมืองแพนขึ้นเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" พ่อเมืองคนแรกของจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 ประชาชนชาวขอนแก่น ได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเคารพสักการะของชาวเมือง
  • น้ำส่างสนามบิน: ตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าศูนย์ราชการ ตรงข้ามโรงเรียนสนามบินด้าน ทิศเหนือ เป็นบ่อน้ำประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อนที่เมืองขอนแก่นจะมีน้ำประปาบริโภค เป็นจุดรวมใจของชาวขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวขอนแก่นในอดีต และให้คุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวขอนแก่นมาเป็นเวลายาวนาน
  • ศาลหลักเมือง (เมืองเก่า) : เป็นศาลหลักเมืองหรือบือบ้านที่ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้ตั้งไว้ ณ บริเวณใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสาหลักเมืองขอนแก่นหลักแรกก่อนจะมีการย้ายเมืองอีก 5 ครั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณซอยกลางเมือง 21 ด้านข้างศูนย์กัลยาณมิตร
  • พระธาตุขามแก่น: พระธาตุขามแก่นตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 500

[แก้] แหล่งเรียนรู้

  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น: ตั้งอยู่ที่ถนนกสิกรทุ่งสร้าง เป็นสถานที่ที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่เป็นของแถบ อีสานตอนเหนือ โดยรอบอาคารพิพิธภัณฑ์จัดตั้งใบเสมาหินที่ได้จาก "เมืองฟ้าแดดสงยาง" ไว้เป็นจำนวนมาก
  • หอศิลปวัฒนธรรมและอาคารศูนย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น: เป็นแหล่งแสดงศิลปะพื้นบ้านและเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ตั้งอยู่ที่ถนนมะลิวัลย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้นล่างอาคารสวนสาธารณะ 200 ปี บึงแก่นนคร เทศบาลนครขอนแก่น ภายในโฮงมูนมันเมืองขอนแก่น ได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ในส่วนของนิทรรศการ และห้องจำหน่ายของที่ระลึก สำหรับการจัดนิทรรศการได้แบ่งออกเป็น 5 โซน โดยแบ่งตามเนื้อหาสาระในระบบการปกครอง วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภาคภูมิใจของชาวขอนแก่น นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านแปงเมือง จวบจนเป็นเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน
  • ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประจำท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น: ตั้งอยู่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 4 บ้านสามเหลี่ยม ถนนศรีมารัตน์ เป็นแหล่งศึกษาความรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่พร้อมไปด้วยข้อมูลพื้นฐาน ความรู้ หลักการทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และการแสดงถึงวิวัฒนาการในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน
  • พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง: ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของโลก ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและกำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไดโนเสาร์ที่ขุดค้นพบในหุบเขาภูเวียง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะกับสถานศึกษาและนักท่องเที่ยวทั่วไป เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.00 - 17.00 น. หยุดทุกวันจันทร์ยกเว้นวันจันทร์ที่เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทรศัพท์ 043 438-204

[แก้] สวนสาธารณะ

ภาพสวนสาธารณะบึงแก่นนคร จาก http://www.khonkaenview.com
  • บึงแก่นนคร : เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยว เป็นบึงธรรมชาติคู่เมืองขอนแก่น ที่มีความกว้างถึง 600 ไร่ในฤดูฝนจะมีระดับน้ำปริ่มฝั่ง มีสถานที่ออกกำลังกาย โซนตกปลา ลานกีฬา แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา ตั้งอยู่ติดกับถนนรอบบึง
  • บึงทุ่งสร้าง : เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยว มีสภาพเป็นบึงธรรมชาติ มีสวนสุขภาพสำหรับออกกำลังกาย มีพื้นที่ 1,600 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนกสิกรทุ่งสร้าง อนาคตจะได้รับการพัฒนาเป็นสวนพฤกษศาสตร์ชุ่มน้ำ สวนนก และลานกีฬา
  • สวนสาธารณะประตูเมือง : มีพื้นที่ 10 ไร่ 1 งาน 14.2 ตารางวา เดิมเป็นที่ดินของตระกูล ทวีแสงสกุลไทย ยกให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นสถานที่ทดลองและพัฒนาพันธุ์ข้าว ต่อมาเมื่อถนนมิตรภาพตัดผ่านถูกทิ้งร้าง เทศบาลได้ประสานขอใช้ที่ดินจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (นายบุณยรงค์ นิลวงศ์) และกรมธนารักษ์ปัจจุบันเทศบาลปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม ร่มรื่น มีระดับพื้นที่สูงต่ำเป็นมิติมุมมองที่แตกต่างจากสวนทั่วไป และยังเป็นสวนที่เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าถึงเมืองขอนแก่น ตั้งอยู่บริเวณถนนศรีจันทร์ตัดกับถนน มิตรภาพ

[แก้] งานประเพณีและงานเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ

  • งานประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูน–เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 8–15 เมษายน ของทุกปี
  • งานประเพณีวันเข้าพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเข้าพรรษาของทุกปี
  • งานประเพณีออกพรรษาไต้ประทีปโคมไฟและวิถีอีสาน โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันออกพรรษาของทุกปี
  • งานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จัดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน–10 ธันวาคม ของทุกปี
  • งาน countdown ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (ขอนแก่น countdown)จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปี

[แก้] บุคคลมีชื่อเสียง

เรือเอก สมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬาทีมชาติไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในกีฬาโอลิมปิกโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ครั้งที่ 26 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2539

[แก้] อุทยานแห่งชาติ

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูนดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น










[แก้] ห้างสรรพสินค้า

  • ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น & SF Cinema City & SF Strike Bowl
  • แฟรี่ พลาซ่า กลางเมือง & FAIRY Cineplex
  • ศูนย์ค้าส่ง ประตูน้ำ ขอนแก่น
  • เซ็นโทซ่า มะลิวัลย์
  • ตึกคอม โฆษะ ศรีจันทร์ ขอนแก่น
  • ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ขอนแก่น
  • ห้างสรรพสินค้า เซ็นโทซา(ดิพาร์ทเม้นท์ สโตร์) กลางเมือง
  • เทสโก้ โลตัส ซีพี เซ็นเตอร์ สาขา ขอนแก่น
  • เทสโก้ โลตัส ดิพาร์ทเม้นท์ สโตร์ สาขา ชุมแพ
  • เทสโก้ โลตัส EXTRA & E.G.V.Cinemas
  • บิ๊กซี สาขา ขอนแก่น
  • แม็คโคร สาขา ขอนแก่น
  • ตลาดโลตัสแฟรี่พลาซ่า
  • ตลาดโลตัส อ.พล
  • ตลาดโลตัส อ.กระนวน
  • ตลาดโลตัส อ.น้ำพอง
  • เทสโก้ โลตัส ตลาด ซีพี ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ มะลิวัลย์ (กำลังก่อสร้าง)
  • Home Pro ขอนแก่น
  • โกลบอล์ เฮาส์ ขอนแก่น
  • ฟาร์ม มาร์ท กลางเมือง
  • อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ขอนแก่น
  • ดูโฮม ขอนแก่น
  • โฮมฮับ ขอนแก่น
  • St.mall (โครงการ)
  • ท็อป มาร์เก็ต เซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น
  • ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ตตึกคอม โฆษะ
  • บิ๊ก ม. มัญจาคีรี
  • คอมมูนิตี้ มอลล์ซีพี ซิตี้ เซ็นเตอร์ มะลิวัลย์ ขอนแก่น
  • จีไนน์ เทรนดี้มอลล์ (กำลังก่อสร้าง)
  • โอ-โซน วิลเลจ เทพารักษ์ ขอนแก่น
  • เซ็นโทซ่า มอลล์ มะลิวัลย์ (กำลังดำเนินการ)
  • โกลเด้นปาร์คขอนแก่น มะลิวัลย์ (กำลังก่อสร้าง)
  • Ton Tann Green Market มิตรภาพ(กำลังก่อสร้าง)
  • Firenze Shoppingmall บขส.3 (กำลังก่อสร้าง)
  • บีเค เพลส ม.ภาค (โครงการ)
  • เดอะเลค มะลิวัลย์ (กำลังก่อสร้าง)
  • เมทโทร มาร์เก็ต มิตรภาพ (โครงการ)
  • กันยารัตน์อเวนิว ริมบึงแก่นนคร (กำลังก่อสร้าง)

[แก้] การศึกษา

จังหวัดขอนแก่น มีสถาบันระดับอุดมศึกษาดังนี้
  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น
  5. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  6. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และ ศูนย์การศึกษาชุมแพ
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์การศึกษาจังหวัดขอนแก่น
  8. มหาวิทยาลัยอีสาน
  9. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  10. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  11. วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
  12. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  13. สถาบันการบินพลเรือน (ศูนย์ฝึกการบินที่ 2)
  14. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
  15. วิทยาลัยอาชีวะศึกษาขอนแก่น

[แก้] โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน

  • โรงเรียนเทคโนโลยีขอนแก่น
  • โรงเรียนเทคโนโลยีภูมิสิทธิ์
  • โรงเรียนพณิชยการขอนแก่น
  • โรงเรียนขอนแก่นเทคโนโลยีพณิชยการ
  • โรงเรียนพงษ์ภิญโญเทคโนโลยี
  • โรงเรียนเทคโนโลยีธุรกิจอาชีวะ
  • โรงเรียนขอนแก่นบริหารธุรกิจและธุรกิจอาชีวะ
  • โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • โรงเรียนอมตะเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ อำเภอหนองสองห้อง
  • โรงเรียนชุมแพบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี อำเภอชุมแพ
  • โรงเรียนเทคโนโลยีพลพณิชยการ ( ศูนย์บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ) อำเภอพล
นอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาระบบจีไอเอส (GIS) ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นของประเทศ สำหรับโรงเรียน ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น