วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาคกลาง

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา
ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในบางบริบท ภาคกลางอาจหมายรวมถึงภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] การแบ่งพื้นที่

ราชบัณฑิตยสถานได้ แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นทางการ โดยให้ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับรวมกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัดโดยอนุโลม) ได้แก่ [1]
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. นครนายก
  5. นครปฐม
  6. นครสวรรค์
  7. นนทบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. พิจิตร
  11. พิษณุโลก
  1. เพชรบูรณ์
  2. ลพบุรี
  3. สมุทรปราการ
  4. สมุทรสงคราม
  5. สมุทรสาคร
  6. สระบุรี
  7. สิงห์บุรี
  8. สุโขทัย
  9. สุพรรณบุรี
  10. อ่างทอง
  11. อุทัยธานี
นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่ [1]
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. ชัยนาท
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. พระนครศรีอยุธยา
  6. ลพบุรี
  7. สระบุรี
  8. สิงห์บุรี
  9. อ่างทอง
  10. สุพรรณบุรี

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ
2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัด พามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนใน แม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้
3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐาน วิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่า ต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

[แก้] สถิติประชากรของจังหวัดในภาคกลางตามเกณฑ์แบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย (31 ธันวาคม พ.ศ. 2553) [2]
อันดับ จังหวัด จำนวนประชากร (คน)
1 กรุงเทพมหานคร 5,701,394
2 สมุทรปราการ 1,185,180
3 นนทบุรี 1,101,743
4 นครสวรรค์ 1,073,495
5 เพชรบูรณ์ 996,031
6 ปทุมธานี 985,643
7 นครปฐม 860,246
8 พิษณุโลก 849,692
9 สุพรรณบุรี 845,850
10 พระนครศรีอยุธยา 782,096
11 ลพบุรี 755,854
12 กำแพงเพชร 727,093
13 สระบุรี 617,384
14 สุโขทัย 608,820
15 พิจิตร 552,690
16 สมุทรสาคร 491,887
17 ชัยนาท 334,934
18 อุทัยธานี 327,959
19 อ่างทอง 284,970
20 นครนายก 252,734
21 สิงห์บุรี 214,661
22 สมุทรสงคราม 194,057
รวม 19,744,413

[แก้] รายชื่อเมืองใหญ่เรียงตามจำนวนประชากร

ลำดับในภาค ลำดับในประเทศ ชื่อเมือง พื้นที่ (กม.2) ประชากร จังหวัด
1 1 กรุงเทพมหานคร 1,568.73 5,701,394 -
2 2 เทศบาลนครนนทบุรี 38.90 261,474 นนทบุรี
3 3 เทศบาลนครปากเกร็ด 36.04 176,742 นนทบุรี
4 12 เทศบาลนครนครสวรรค์ 27.87 90,412 นครสวรรค์
5 14 เทศบาลนครนครปฐม 19.85 83,007 นครปฐม
6 15 เทศบาลนครพิษณุโลก 18.26 79,535 พิษณุโลก
7 16 เทศบาลนครรังสิต 20.80 76,973 ปทุมธานี
8 25 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 14.84 54,190 พระนครศรีอยุธยา
9 26 เทศบาลนครสมุทรสาคร 10.30 54,090 สมุทรสาคร
10 27 เทศบาลนครสมุทรปราการ 7.33 53,759 สมุทรปราการ
11 28 เทศบาลนครอ้อมน้อย 30.4 52,314 สมุทรสาคร

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ภาคใต้ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน และตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ชายฝั่งทะเลในภาคใต้
ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทาง ฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้] การแบ่งพื้นที่

[แก้] ตามราชบัณฑิตยสถาน

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. ตรัง
  4. นครศรีธรรมราช
  5. นราธิวาส
  6. ปัตตานี
  7. พังงา
  1. พัทลุง
  2. ภูเก็ต
  3. ยะลา
  4. ระนอง
  5. สงขลา
  6. สตูล
  7. สุราษฎร์ธานี

[แก้] แบ่งตามยุทธศาสตร์ ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง

[แก้] ภาคใต้ตอนบน

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. นครศรีธรรมราช
  4. พังงา
  5. ภูเก็ต
  6. ระนอง
  7. สุราษฎร์ธานี

[แก้] ภาคใต้ตอนล่าง

  1. ตรัง
  2. นราธิวาส
  3. ปัตตานี
  4. พัทลุง
  5. ยะลา
  6. สตูล
  7. สงขลา

[แก้] สถิติประชากรของจังหวัดในภาคใต้

รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย (31 ธันวาคม พ.ศ. 2553)'[1]
อันดับ จังหวัด จำนวนประชากร (คน)
1 นครศรีธรรมราช 1,522,561
2 สงขลา 1,357,023
3 สุราษฎร์ธานี 1,000,383
4 นราธิวาส 737,162
5 ปัตตานี 655,259
6 ตรัง 622,659
7 พัทลุง 509,534
8 ชุมพร 489,964
9 ยะลา 487,380
10 กระบี่ 432,704
11 ภูเก็ต 345,067
12 สตูล 297,163
13 พังงา 253,112
14 ระนอง 183,079
รวม 8,893,050

[แก้] เมืองใหญ่ของภาคใต้

  1. เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย
    หาดใหญ่
  2. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย
    สุราษฎร์ธานี
  3. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย
    นครศรีธรรมราช
  4. เทศบาลนครภูเก็ต เป็นอันดับที่ 16 ของประเทศไทย
    ภูเก็ต
  5. เทศบาลนครสงขลา เป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย
    สงขลา
  6. เทศบาลนครยะลา เป็นอันดับที่ 20 ของประเทศไทย
    ยะลา
  7. เทศบาลนครตรัง เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศไทย
    ตรัง
  • อ้างอิงมาจากจำนวนประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล
ภาพพาโนรามาศูนย์กลางภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ภาพพาโนรามาศูนย์กลางภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] สภาพภูมิประเทศภาคใต้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขากรุงเทพ ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] ที่ตั้ง

บริเวณภาคใต้ตอนบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรสองอาณาจักร ได้แก่
บริเวณภาคใต้ตอนล่าง เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรเดียว ได้แก่

[แก้] สภาพภูมิอากาศ

ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุดเคยขึ้นสูงสุดที่ จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส

[แก้] ทรัพยากร

[แก้] ป่าไม้

[แก้] อุทยานแห่งชาติ วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ในภาคใต้เป็นคาบสมุทรมีเทือกเขานครศรีธรรมราชกั้นกลางระหว่างชายฝั่งทั้งสอง มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น

[แก้] เขื่อน

เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่สำคัญ ได้แก่
ภาพพาโนรามาเขื่อนรัชประภา
ภาพพาโนรามาเขื่อนรัชประภา

[แก้] เทือกเขาที่สำคัญของภาคใต้

ทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาที่อยู่ทางตะวันออกของทิวเขาภูเก็ต และเป็นแกนของแหลมต่อลงไปอีกแนวหนึ่ง ทิวเขานี้กั้นที่ราบสุราษฎร์ไว้ตอนกลาง โดยมีภูเขาลูกโดด ๆ แทรกอยู่เป็นตอน ๆ มีความสูง 200-300 เมตร มี เขาพนมเบญจา สูง 1,404 เมตร เป็นยอดสูงสุด เป็นเขาหินแกรนิต ที่มีทิศทางทอดตัวจากเหนือไปใต้ จากริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยไปสุดยังฝั่งทะเลด้านตะวันตก เริ่มจากทางใต้ของลำน้ำตาปี ทางใต้จดทิวเขาสันกาลาคีรี ตอนเหนือของทิวเขานี้มียอดสูงหลายยอด ส่วนตอนกลาง และตอนใต้ยอดไม่สูงนัก ส่วนที่ยื่นลงไปในทะเลของทิวเขานี้ได้แก่เกาะสมุย และเกาะพงัน ส่วนทางตอนใต้ในจังหวัดต่าง ๆ แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทางด้านตะวันออกมีจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ทางด้านตะวันตกมี จังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล เป็นสันปันน้ำ ทางด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ด้านอ่าวไทย มีลำน้ำตาปี และลำคลองต่าง ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบสงขลา ด้านทะเลอันดามัน มีลำน้ำตรัง ยอดเขาสูงที่สำคัญได้แก่ เขาหลวง อยู่ทางตะวันตกของ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สูง 1,786 เมตร เขาเหม็นอยู่ในเขต อำเภอฉวาง สูง 1,309 เมตร เขาสอยดาวอยู่ในเขต จังหวัดตรัง สูง 993 เมตร ช่องทางที่สำคัญมีอยู่ 3 ช่องทางคือ ช่องทางรถไฟระหว่างนครศรีธรรมราช ผ่านอำเภอทุ่งสง ไปตรัง ช่องทางระหว่างคอนเนียงไปสตูล เป็นช่องทางถนน
ทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นทิวเขาที่ต่อเนื่องกับทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาหินแกรนิต และแยกออกเป็นหลายแนว มีทิศทางขนานกันจากเหนือลงใต้ ตอนย่านกลางมีความสูง ประมาณ 1,500 เมตร ตอนริมทั้งด้านตะวันตก และตะวันออก มีความสูงประมาณ 400 เมตร ทิวเขานี้เริ่มตั้งแต่จังหวัดสตูล ไปสุดในเขตจังหวัดนราธิวาส มีลักษณะลดหลั่นเป็นขั้นบันได ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซียในเขตจังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาสของไทย กับเขตรัฐไทรบุรี ปลิส เปรัค และกลันตันของมาเลเซีย ช่องทางที่สำคัญคือ ช่องทางถนนและเส้นทางรถไฟ จากหาดใหญ่ไปปาดังเบซาร์ และช่องทางถนนจากยะลาไปเบตง ยอดเขาสูงเกินกว่า 1,000 เมตร มีอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 14 ยอด มีชื่อเป็นภาษาพื้นเมือง ยอดสูงสุดคือ กุหนุงฮูลูติติบาซาร์ สูง 1,535 เมตร
ทิวเขาภูเก็ต (หรือทิวเขาระนอง) เป็นทิวเขาที่แยกออกจากทิวเขาตะนาวศรีเริ่มจาก จังหวัดชุมพร นับจากแม่น้ำปากจั่นลงไปทางใต้เป็นแนวไปในแหลมมลายู ไปสุดตอนที่ต่อกับทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันกาลาคีรีในจังหวัดสตูล นอกนั้นเป็นทิวที่ล้ำลงไปในทะเลเกิดเป็นเกาะภูเก็ตขึ้น จึงให้ชื่อว่าทิวเขาภูเก็ต และเนื่องจากว่าทิวเขานี้ผ่านจังหวัดระนอง จึงได้ชื่อว่าทิวเขาระนอง ทิวเขานี้เป็นเขาหินแกรนิต ได้ปันน้ำลงสองฟาก คือ ด้านอ่าวไทย และด้านมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านอ่าวไทย มีคลองสวี ลำน้ำหลังสวน และลำน้ำคีรีรัฐ (ไหลลงอ่าวบ้านดอน) ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย มีลำน้ำกระ (มีคลองปากจั่น และคลองสะอุ่นไหลมาบรรจบ) และลำน้ำตะกั่วป่า ทิวเขานี้มียอดเขาสูงที่สำคัญ คือ เขากะทะคว่ำ สูง 1,092 เมตร เขาปลายบางโต๊ะ สูง 1,047 เมตร เขาทั้งสองลูกนี้อยู่ตอนเหนือของจังหวัดพังงา เขาพระมี สูง 1,106 เมตร อยู่ในเขตอำเภอคอเขา จังหวัดพังงา เขาหลังคาตึก สูง 1,272 เมตร อยู่ในเขตอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ยังมียอดเขาที่สูงเกิน 1,000 เมตร อีกหลายยอด แต่ไม่มีชื่อเรียกกัน ทิวเขาภูเก็ตกั้นเขตแดน ระหว่างฟากตะวันออกกับฟากตะวันตก ของสี่จังหวัดในภาคใต้คือ ทางตอนเหนือกับจังหวัดชุมพร (ตะวันออก) กับจังหวัดระนอง (ตะวันตก) ทางตอนใต้กั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ตะวันออก) กับจังหวัดพังงา (ตะวันตก)

[แก้] การละเล่นและการแสดงของภาคใต้

[แก้] มโนราห์

มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้ว

[แก้] หนังตะลุง

หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้ และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่นๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ดู ละครโทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูกและสะดวกสบาย ที่มาแย่งความสนใจไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด ปัจจุบัน โครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงให้แก่อนุชนรุ่น หลัง เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่สืบไป

[แก้] ดูเพิ่ม