วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

เกสรดอกไม้

เกสรดอกไม้

นัก วิทยาศาสตร์ยอมรับว่า ร่างกายของเราจะทำงานได้อย่างดี จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มเติม นอกเหนือจากโภชนาการพื้นฐานที่เรารับประทานกันประจำ ร่างกายยังต้องการสิ่งที่เรียกว่า ” จุลโภชนาการ ” ซึ่งพบว่ามีใน เกสรดอกไม้ จากผึ้ง

ในปี 1961 ในรายงานที่เสนอโดย โรเบิร์ต เดลพีรี ชื่อว่า ” ความลับแห่งชีวิตผึ้ง ” มีการนำเสนอ โดยอ้างอิงผลวิเคราะห์ทางเคมีของเกสรดอกไม้จากผึ้งในห้องทดลองต่าง ๆ ทั่วโลกว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งนั้นมีสมรรถนะทางด้านโภชนาการที่ค้ำจุนชีวิต
และ ในปี 1963 มูลนิธีลีเพื่อการวิจัยด้านโภชนาการแห่งมิลวิกี รายงานว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งนั้น มีความสมดุลอย่างสมบูรณ์มากจนกระทั่ง มันสามารถเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบได้ โดยตัวของมันเองเพียงแต่ผสมวัสดุหยาบ ๆ และน้ำเข้าไปเท่านั้น
ในอดีต เคยมีการใช้ น้ำผึ้ง ผสมกับ เกสรดอกไม้ จากผึ้ง ในการรักษาอาการผิดปกติ และโรคภัยต่าง ๆ ตั้งแต่โรคลำไส้ ไปจนถึง โรคไต โรคหายใจลำบาก และผื่นคันตามผิวหนัง แม้กระทั่งกับกรณีร้ายแรงเช่นแผลไฟไหม้
และยังใช้เป็น ยาคลายอาการเครียด และ กระตุ้นทางเพศ ในปัจจุบันมีการค้นพบว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการ โรคภูมิแพ้ ระบบย่อยอาหารและความผิดปกติในต่อมลูกหมาก ใช้ในการบรรเทาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วย วิธีเคมีบำบัด และเพิ่มสมรรถนะทางการกีฬา เครื่องสำอางที่เราใช้อยู่ก็อาจจะมีส่วนผสมของ เกสรดอกไม้ จากผึ้งอยู่ด้วย ก็ได้
นอกเหนือจากคุณประโยชน์ทางด้าน โภชนาการและการบำบัดโรคแล้ว เกสรดอกไม้ จากผึ้งยังมีความ ได้เปรียบ ตรงที่มันย่อยง่ายและร่างกายดูดซึมได้เร็ว ทั้งนี้เนื่องจากมันไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารตามปกติ ร่ายกายดูดซึม เข้าเส้นเลือดได้ทันทีโดยตรงจากกระเพาะ หลังจากรับประทานเข้าไปเพียงประมาณ 30 นาที เราจะพบ เมล็ดเกสร ดอกไม้จากผึ้งในเลือดได้เลย กระบวนการนี้เรียกว่า persorption
ในการทำการ ศึกษาทดลองให้สุนัขกิน เกสรดอกไม้ จากผึ้งกับครีมนม หลังจากนั้นเพียงสองชั่วโมงก็สามารถพบ เกสรดอกไม้ จากผึ้งทั้งในเลือด ปัสสาวะ และ น้ำไขสันหลัง ผลที่คล้ายคลึงกันได้ทดลองในมนุษย์แล้วในปี 1974
เกสรดอกไม้ สมบูรณ์ด้วยสารอาหาร
มีการค้นพบแล้วว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งนั้นประกอบด้วยธาตุอาหารที่มนุษย์รู้จักทั้งหมด ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบที่ เป็นธาตุอาหารของเกสรดอกไม้ จากผึ้งคือ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 60 โปรตีนร้อยละ 20 ไขมันร้อยละ 7 น้ำร้อยละ 7 และ เกลือแร่ร้อยละ 6 แต่ค่าที่แน่นอนจริง ๆ ยังต้องขึ้นอยู่กับชนิดของละอองเรณูแต่ละชนิด
คุณภาพของดินที่ต้น ดอกไม้นั้น เจริญงอกงามอยู่ รวมทั้งสถานที่ตั้งและภูมิอากาศด้วย ธาตุอาหารในส่วนของโปรตีนนั้น เกสรดอกไม้ จากผึ้งประกอบด้วย กรดอะมิโน ที่เป็นที่รู้จักทั้งหมด ผึ้งจำเป็นต้อง ได้กรดชนิดนี้ทั้ง 8 ประเภทจากอาหารที่มันกินเข้าไปเช่นเดียวกับมนุษย์นั่นคือ ไอโซลิวซิน ลิวซิน ไลซิน เมธิโอนิน เฟไนลาลานิน เธลิโอนิน และฮิสไทดิน คือสิ่งที่ลีออน ไซทาว นักธรรมชาติบำบัดและนักเขียนที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ทางเลือกให้ชื่อว่า ” กรดแห่งภาวะคลุมเครือ ” ( กรดอะมิโนโนในการบำบัด ) อาจเป็นตัวที่มีความจำเป็นในบางขั้นตอน ของพัฒนาการของชีวิต
ผล การทดลองยืนยันว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งเป็นแหล่งที่สมดุลที่สุดของ กรดอะมิโน ที่สำคัญทั้งหมด
ดร.ลุนเดน ผู้ทำงานค้นคว้าเรื่องเกสรดอกไม้จากผึ้งอย่างเอาจริงเอาจัง พบว่า เกสรดอกไม้จากผึ้งนั้นมีองค์ประกอบ ของแร่ธาตุต่อไปนี้ค่อนข้างสูง คือ ไทอามีน ไรโบฟลาวิน กรดนิโคตินิก ไพริโดซิน กรดแพนโตเทนิก ไบโอติน กรดฟอริก และวิตาบินบี 12 และยังกล่าวว่า “พูดถึงในส่วนของวิตามินที่ละลายในน้ำได้ ต้องยอมรับว่า เกสรดอกไม้ จากผึ้งนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านนี้สูงมากจริง ๆ”
วิตามิน บีรวม
มีวิตามินอยู่ 8 ชนิดที่แตกต่างกัน แต่จะส่งผลได้ดีถ้าหากให้ทำงานประสานกัน วิตามินบี รวมทั้งหลายสามารถ ละลายในน้ำได้ ดังนั้นการรับประทานทุกวันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในทางทฤษฏีวิตามินเหล่านี้อาจได้จากการรับประทาน อาหาร แต่จะเห็นว่าการทำฟาร์มสมัยใหม่ การเก็บรักษาในปัจจุบันตลอดจนกระบวนการอื่นในการผลิตอาหารทุกวันนี้
ทำ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่แท้จริงของอาหารสูญไป ดังนั้นเราจึงน่าจะต้องให้ความสนใจในเรื่องการประกันในขึ้น พื้นฐานด้วยการรับประทานวิตามินบี รวมหรือไม่ก็นมผึ้งเสริมเข้าไป อย่าลืมว่าวิตามินบีนั้นมักจะได้ผลเมื่อทำงานร่วมกัน หลายชนิด
ดัง นั้นควรรับประทาน วิตามินบี รวมนอกเสียจากแพทย์จะสั่งให้รับประทาน วิตามินบี ชนิดใดชนิดหนึ่งโดย เฉพาะเพื่อผลในการบำบัดรักษาโรคที่แน่นอน
ไท อามีน ( วิตามินบี 1 )
เป็นที่รู้จักกันดีว่า ไทอามีนได้ชื่อว่าเป็น ” วิตามินที่ดีต่อจิตใจ ” เนื่องจากมันให้ประโยชน์ต่อระบบประสาท และจิตใจ ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจนั้นพบว่าจะมีระดับไทอามีนในกล้ามเนื้อหัวใจต่ำกว่า ระดับปกติทั่วไป และผลดีของ ไทอามีนคือ ในระหว่างการตั้งครรภ์ ไทอามีนจะช่วยให้ตัวอ่อนครรภ์มารดามีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ แก้อาการ ปวดหลัว ปวดเอว
ไรโบฟลาวิน ( วิตามินบี 2 )
ไร โบฟลาวินมีสีเหลือง มักจะถูกนำไปใช้ในการตกแต่งอาหาร มีประโยชน์คือเป็นตัวสร้างโคเอนไซม์ที่จำเป็น สองตัว (คือปลาวิน ดิโนลิโอไทด์ และฟลาวิน โมโนนุมลิโอไทด์) ซึ่งทำหน้าที่ในการแปรเปลี่ยนโปรตีน ไขมัน และน้ำตาล ให้เป็นวัสดุที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ มีความสำคัญต่อสุขภาพของผิวพรรณและเส้นผม ช่วยในการรักษาอาการลำไส้ อักเสบ ไมเกรน และกล้ามเนื้อเป็นตะคริว
ไนอาซิน ( วิตามินบี 3 )
ไน อาซินมาใน 2 รูปแบบคือ ในรูปกรด (นิโคตินิก) และในรูปสารประกอบอินทรีย์อะไมด์ คือนิโคตินาไมค์ บางครั้งไนอาซินถูกเรียกว่า ” พีพี ” เพราะมันสามารถป้องกันโรคผิวหนังเป็นจ้ำสีม่วงเนื่องจากธาตินิโตินิก โรคที่เกิด จากการขาดไนอาซินคือ โรคท้องร่วง โรคผิวหนังอักเสบ และโรคสมองพิการ
กรดแพนโตเทนิก ( วิตามินบี 5 )
ชื่อ นี้มาจากภาษากรีกคำว่า ” panthos ” แปลว่าทุกหนทุกแห่ง และความจริงก็สามารถพบเห็นได้ทุกหนทุกแห่ง ทั้งในเยื่อในร่างกายและในพืช กรดนี้มีความสำคัญต่อการผลิตแอนตี้บอดี้ของร่างกาย และช่วยรักษาโรคผิวหนัง
พริ ดอกซิน ( วิตามินบี 6 )
ไพริดอกซินรู้จักกันในนามของ ” วิตามินของสตรี ” เนื่องจากมีคุณประโยชน์ต่อสตรีโดยเฉพาะ ไพริดอกซินจำเป็น ต่อการผลิตอะดรีนาลินและอินซูลิน คนที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจะทำให้ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 มากขึ้น มี ประโยชน์ในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง
โค บาลามิน ( วิตามินบี12 )
ผู้ที่กินอาหารแบบมังสวิรัติ มักจะขาดแร่ธาตุประเภทวิตามินบี 12 เพราะแร่ธาตุชนิดนี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ และโดยทั่ว ไปจะไม่ปรากฏในอาหารประเภทผัก วิตามินบี 12 เป็นวิตามินชนิดสุดท้ายที่จัดอยู่ในประเภทวิตามินที่แท้จริง เราเรียก ว่า ” โคบาลามิน ” เพราะว่ามีองค์ประกอบที่เป็นโคบอลท์ที่ถือว่าเป็นธาตุที่สำคัญ เหมาะกับคนที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายหรือ สะดุ้งผวา เพราะร่างกายจะตอบสนองกับวิตามินบี 12 เป็นอย่างดี บรรเทาอาการเหนื่อยล้าของสมอง และความจำเสื่อม
กรดฟอลิก
กรด ฟอลิกมีชื่อเรียกดังกล่าว เนื่องจากค้นพบในใบไม้สีเขียวหรือพืชพรรณไม้ต่าง ๆ โดยหากร่างกายได้รับกรด ฟอลิก น้อยเกินไประหว่างการตั้งครรภ์ อาจจะส่งผลให้เกิดโรคกระดูกสันหลังโค้งและมีรอยบุ๋ม
ไบโอติ น
ไบโอติน เป็นวิตามินบีหนึ่งในชุด วิตามินบี รวมที่สามารถละลายน้ำได้ดี บางครั้งเรียกว่า ” วิตามินเอช ” หรือ “โ คเอนไซม์ อาร์ ” ช่วยในการขจัดโรคผิวหนังอักเสซึ่ง วิตามินบี ประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นมีอยู่ใน เกสรดอกไม้
ที่มา : หนังสือผลพวงจากรวงรัง โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น