วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาคกลาง

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน
แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา
ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในบางบริบท ภาคกลางอาจหมายรวมถึงภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] การแบ่งพื้นที่

ราชบัณฑิตยสถานได้ แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นทางการ โดยให้ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับรวมกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัดโดยอนุโลม) ได้แก่ [1]
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. นครนายก
  5. นครปฐม
  6. นครสวรรค์
  7. นนทบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. พิจิตร
  11. พิษณุโลก
  1. เพชรบูรณ์
  2. ลพบุรี
  3. สมุทรปราการ
  4. สมุทรสงคราม
  5. สมุทรสาคร
  6. สระบุรี
  7. สิงห์บุรี
  8. สุโขทัย
  9. สุพรรณบุรี
  10. อ่างทอง
  11. อุทัยธานี
นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่ [1]
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. ชัยนาท
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. พระนครศรีอยุธยา
  6. ลพบุรี
  7. สระบุรี
  8. สิงห์บุรี
  9. อ่างทอง
  10. สุพรรณบุรี

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ
2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัด พามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนใน แม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้
3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐาน วิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่า ต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

[แก้] สถิติประชากรของจังหวัดในภาคกลางตามเกณฑ์แบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

รายชื่อจังหวัดซึ่งมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย (31 ธันวาคม พ.ศ. 2553) [2]
อันดับ จังหวัด จำนวนประชากร (คน)
1 กรุงเทพมหานคร 5,701,394
2 สมุทรปราการ 1,185,180
3 นนทบุรี 1,101,743
4 นครสวรรค์ 1,073,495
5 เพชรบูรณ์ 996,031
6 ปทุมธานี 985,643
7 นครปฐม 860,246
8 พิษณุโลก 849,692
9 สุพรรณบุรี 845,850
10 พระนครศรีอยุธยา 782,096
11 ลพบุรี 755,854
12 กำแพงเพชร 727,093
13 สระบุรี 617,384
14 สุโขทัย 608,820
15 พิจิตร 552,690
16 สมุทรสาคร 491,887
17 ชัยนาท 334,934
18 อุทัยธานี 327,959
19 อ่างทอง 284,970
20 นครนายก 252,734
21 สิงห์บุรี 214,661
22 สมุทรสงคราม 194,057
รวม 19,744,413

[แก้] รายชื่อเมืองใหญ่เรียงตามจำนวนประชากร

ลำดับในภาค ลำดับในประเทศ ชื่อเมือง พื้นที่ (กม.2) ประชากร จังหวัด
1 1 กรุงเทพมหานคร 1,568.73 5,701,394 -
2 2 เทศบาลนครนนทบุรี 38.90 261,474 นนทบุรี
3 3 เทศบาลนครปากเกร็ด 36.04 176,742 นนทบุรี
4 12 เทศบาลนครนครสวรรค์ 27.87 90,412 นครสวรรค์
5 14 เทศบาลนครนครปฐม 19.85 83,007 นครปฐม
6 15 เทศบาลนครพิษณุโลก 18.26 79,535 พิษณุโลก
7 16 เทศบาลนครรังสิต 20.80 76,973 ปทุมธานี
8 25 เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 14.84 54,190 พระนครศรีอยุธยา
9 26 เทศบาลนครสมุทรสาคร 10.30 54,090 สมุทรสาคร
10 27 เทศบาลนครสมุทรปราการ 7.33 53,759 สมุทรปราการ
11 28 เทศบาลนครอ้อมน้อย 30.4 52,314 สมุทรสาคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น