วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

โทรทัศน์

โทรทัศน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501
โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์[1]

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำจากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ / เอ็นบีที) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 และในอนาคตตั้งเป้าว่าจะมีแผนการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีก 3 ช่องดังต่อไปนี้
  • สถานีโทรทัศน์ไทยสยามทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2555 (ภายไต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์)
  • สถานีโทรทัศน์เจเคเอส เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2556 (สถานีโทรทัศน์เสรี)
  • สถานีโทรทัศน์อีทีวี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2557 (สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา)

[แก้] การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย

[แก้] คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

  • VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
  • UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

[แก้] ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง
ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

[แก้] คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

[แก้] ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

[แก้] ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

[แก้] ประเภทอื่น

[แก้] ประเภทของโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอ โทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัด ให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่ง อาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง
ชื่อ ขนาด อัตราส่วน อักษรย่อ ขนาดของโทรทัศน์
Low Definition Television 320 × 240 4 : 3 LDTV (240p) 6 นิ้ว
Standard Definition Television 640 × 480 4 : 3 SDTV (480p) 12 นิ้ว
High Definition Television 1920 × 1080 16 : 9 HDTV (1080p) 32 นิ้ว
Extreme High Definition Television 2560 × 1440 16 : 9 EHDTV (1440p) 42 นิ้ว
Quad Full High Definition Television 3840 × 2160 16 : 9 QHDTV (2160p) 64 นิ้ว
Ultra High Definition Television 7680 × 4320 16 : 9 UHDTV (4320p) 128 นิ้ว
  • ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV)
  • เนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 เกือบทั้งหมดฉะนั้นจึงออกอากาศภาพแบบ 16:9 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 แต่ยังคงเป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานจนถึง พ.ศ. 2550
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงทั่วโลกเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เท่านั้น

[แก้] การจัดเวลาออกอากาศ

ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเวลาของประเทศเพียงเขตเดียวจะแจ้งเวลาออกอากาศเพียง 1 เวลาตามปกติเท่านั้น เช่น ในประเทศไทย ส่วนประเทศที่มีขนาดใหญ่มากและมีเขตเวลาหลายเขตจะแจ้งเวลาในการออกอากาศของ รายการโทรทัศน์ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีช่วงแบ่งเขตเวลาหลักๆ ในประเทศทั้งหมด 4 เขตและจะนับทางซ้ายสุดของประเทศเป็นเขตที่ 1 ตามมาด้วยจนถึงด้านขวาสุดเป็นเขตที่ 4 โดยในโทรทัศน์จะทำการแจ้งเวลาที่ 2 เขตตรงกลาง คือ เขตที่ 2 และ 3 ของประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือผู้ชมจะต้องบวกลบเวลากันเอาเอง ซึ่งรายการได้ฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะแจ้งเวลา ตัวอย่างเช่น
  • 8/7 Central หมายถึง 21:00 (9 pm) นาฬิกาตรงเขตที่ 4 ของประเทศ
  • 8/7 Central หมายถึง 20:00 (8 pm) นาฬิกาตรงเขตที่ 3 ของประเทศ
  • 8/7 Central หมายถึง 19:00 (7 pm) นาฬิกาตรงเขตที่ 2 ของประเทศ
  • 8/7 Central หมายถึง 18:00 (6 pm) นาฬิกาตรงเขตที่ 1 ของประเทศ
เพราะฉะนั้นถ้าแจ้งเวลามาเป็น 8/7 Central ทางด้านซ้ายสุดของประเทศจะได้รับชมในเวลา 18:00 (6 pm) นาฬิกา (ตัวอย่างเขตเวลาการออกอากาศของสหรัฐอเมริกาที่ยกตัวอย่างนี้นับแค่ 48 รัฐในแผ่นดินใหญ่โดยไม่รวมรัฐฮาวายและอะลาสกาที่เวลาจะห่างออกไปอีก 1-2 ชั่วโมง) แต่โดยส่วนมากแล้วถ้าฉายพร้อมกันทั้งประเทศจะทำให้บางเขตไม่เหมาะสมและตรง กับในช่วงเวลาตอนเย็นหรือเวลาทำงาน ฉะนั้นอีกครึ่งประเทศทางด้านซ้าย 2 ส่วนโดยส่วนมากจะได้รับชมช้ากว่าครึ่งประเทศทางด้านขวา 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้ตรงกับเวลาที่ผู้คนเลิกงานแล้ว โดยจะถูกจัดการตารางโดย Affiliate หรือสถานีย่อยเพื่อความเหมาะสม

[แก้] สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา

  • Network คือ แม่ข่ายสถานีหลักซึ่งทำหน้าที่สร้างรายการและบริหารในด้านภาพรวมและจัดได้ ว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ 6 ช่องหลักของประเทศประกอบไปด้วย CBS, FOX, ABC, NBC, The CW , MyNetworkTV และอีก 1 ช่องสาธารณะ คือ PBS
  • Affiliate คือ สถานีย่อยที่ยึดกับแม่ข่ายสถานีหลัก
  • Syndication คือ สถานีท้องถิ่นที่จะจัดตารางรายการและฉายกันเองตามความเหมาะสม โดยไม่ยึดติดกับสถานีหลักใดๆ ทั้งสิ้น
ระบบฟรีทีวีของอเมริกามีความเป็นอิสระสูงมาก สถานีแต่ละแห่งในแต่ละเมืองจะบริหาร ดำเนินงานกันเองเป็นเจ้าของเองโดยไม่ขึ้นกับใคร จัดผังรายการเองหรือสร้างรายการเองเพื่อให้เหมาะกับท้องถิ่นนั้นๆ แต่เมื่อสถานีท้องถิ่นนั้นๆ เป็น Affiliate กับ Network ก็จะสามารถเอารายการของ Network มาฉายได้ ตัวอย่างเช่น สถานี KTVU เป็นช่อง 2 ที่แคลิฟอร์เนีย, สถานี KNYW เป็นช่อง 5 ที่นิวยอร์ค, สถานี KDFW เป็นช่อง 4 ที่ดัลลัส ซึ่งที่ยกตัวอย่างมากนั้น ทั้งหมดเป็นอิสระต่อกัน เจ้าของเป็นคนละคนแต่ทั้งหมดถือว่าเป็น Affiliate ของ FOX และฉายรายการของ FOX แต่ไม่ได้หมายความว่า FOX เป็นเจ้าของสถานีท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อถึงเวลา Primetime ก็จะออกอากาศตามเวลาท้องถิ่น เช่น Glee ซึ่งฉาย 8/7c ก็ต้องเปิด KTVU เป็นช่อง 2 ที่แคลิฟอร์เนีย 17:00, KNYW ช่อง 5 ที่นิวยอร์ค 20:00, KDFW ช่อง 4 ที่เท็กซัค 19:00 ตามเวลาท้องถิ่น (ซึ่ง 2 โซนนี้ฉายพร้อมกัน) ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะได้ดูช้ากว่า 2-3 ชั่วโมง ตามเวลาท้องถิ่น ดังนั้น Primetime จึงจัดตามเวลาท้องถิ่น ยกเว้นพวกรายการถ่ายทอดสดจะยึดเวลา Primetime ตามฝั่งตะวันออกเสมอ

[แก้] ดูเพิ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น